ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg

กทม. จัดสัมมนาวิชาการประจำปี ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
"รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ"

               หลังจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครต้องกลายเป็นพื้นที่ประสบเหตุ ซึ่งได้สร้างผลกระทบอันหนักหน่วงในด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ ในฐานะที่สำนักการแพทย์เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของชาว กทม. จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ และเตรียมพร้อมในด้านมาตรการขั้นตอนการปฏิบัติ รวมไปถึงเตรียมแผนรองรับสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกขณะ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้สำนักการแพทย์จึงได้เลือก

         เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 57 เวลา 09.00 น. นพ. สามารถตัน ตันอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เป็นประธานเปิดงานการสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 12 Theme “Bangkok EMS : รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ” จัดโดย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยข้าราชการตั้งแต่ระดับปฏิบัติงาน – ระดับบริหารสังกัดสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย รวมทั้งบุคคลภายนอก ซึ่งให้ความสนใจและตอบรับเข้าร่วมการสัมมนาเป็นจำนวนมาก
          นพ.สามารถ ตันอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจุบันอุบัติเหตุการเจ็บป่วยฉุกเฉินนับวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและความรุนแรง นำไปสู่การสูญเสียชีวิตเกิดความพิการโดยไม่สมควร และยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจ ปัจจัยที่สำคัญของการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ การได้รับการรักษาที่เหมาะสมในระยะเวลารวดเร็วระบบการแพทย์ฉุกเฉินภายใต้การกำกับดูแลของทีมแพทย์และพยาบาล ทั้งในภาวะปกติและในภาวะภัยพิบัติ ระบบการรับแจ้งเหตุและการเข้าช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ระบบการลำเลียงขนย้าย ณ จุดที่เกิดเหตุ และการนำส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม มีคุณภาพ และรวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับเกิดภาวะฉุกเฉินนี้
          นพ.เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา ผู้อำนวยการกองวิชาการ กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะสายงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการ การวินิจฉัย และการให้การรักษาพยาบาลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในแต่ละปี สำนักการแพทย์ จึงได้จัดสัมมนาวิชาการประจำปีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อพัฒนา ส่งเสริม ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาผ่านกิจกรรมทางวิชาการมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การประกวดผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และผลงานการพัฒนาคุณภาพบริการ ตลอดจนการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ในรูปแบบการนำเสนอปากเปล่าทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาวิชาการให้แก่บุคลากรในสังกัด อีกทั้งยังมีบุคลากรภายนอกสังกัด กทม. ได้เข้าร่วมการประกวดด้วย

          การสัมมนาครั้งนี้ ภายในงานจะได้พบการปาฐกถาเกียรติยศ เรื่อง “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในมหานครขนาดใหญ่” โดย ศ.นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์ ประธานมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เรื่อง “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” โดย นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) Luncheon Symposium เรื่อง “การสำรองและกระจายยาในภาวะฉุกเฉิน” โดย ภก.กิตติ ระหงส์ ผู้อำนวยการกองบริหารผลิตภัณฑ์ องค์การเภสัชกรรม เรื่อง “Role of AGIs and Acarbose in Diabetes Management and Update Guideline” โดย นพ.ธาดา คุณาวิศรุต รพ.ศิริราช “เสวนาบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง” เรื่อง “หนึ่งโรงพยาบาลสองระบบ” ปิดท้ายด้วยบรรยายธรรม เรื่อง ”วิกฤติบางกอก ทางออกอยู่ที่ไหน ?” โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก อีกทั้งยังมี การประกวดผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และผลงานการพัฒนาคุณภาพบริการ การเสนอนวัตกรรมใหม่ โดยแบ่งการประกวดเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. Oral Presentation ภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. Poster Presentation และ 3. การประกวดนวัตกรรม
โดยในงานนี้มีผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดประเภทต่างๆ ดังนี้

          นวัตกรรม รางวัลชนะเลิศได้แก่ นายนฤนาท สิริรัชมงคล นายอนุชา สาสงเคราะห์ และนายจรรยา พรมดี จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
Poster Presentation รางวัลชนะเลิศได้แก่ นางสกุลตรา สุขวารี จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
Oral Presentation รางวัลชนะเลิศได้แก่ นายกำพล รัชวรพงษ์ จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์,นางดวงฤทัย จันเขียว จากโรงพยาบาลตากสิน,นางสุภาพร หอมดี จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ,นางสาววัชราภรณ์ สังข์กลมเกลี้ยง จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ

 

ประเภท นวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Yellow Birds Mobile Salon สบาย Hair โดย นายนฤนาท สิริรัชมงคล นายอนุชา สาสงเคราะห์ และนายจรรยา พรมดี จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องตัดซอง Peel pouch อัตโนมัติ โดย นายกฤษณะ ฟั่นกา จากโรงพยาบาลเวชการุณรัศมิ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กระดาษฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา โดย นางสาวลัชนา สุระรัตน์ชัย จากโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
รางวัลชมเชย ได้แก่ พุงเทียมช่วยจำ โดย นางสาวสุภาพร สีส่อง และนางสาวรัตติกาล ปานสีสุข จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
รางวัลชมเชย ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยจัดท่าถ่ายภาพรังสีในท่านั่ง โดย นายอภิชัย พิกุลทอง จากโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
รางวัลขวัญใจกรรมการ ได้แก่ อุปกรณ์ดึงมือและการออกกำลังกายแบบใช้เครื่องพยุง โดย นางกอบแก้ว วิไลเพชรรัตน์ จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
รางวัลขวัญใจกรรมการ ได้แก่ รอกคล้องใจ โดย นายสุรชัย โอษประไพ และนางสุภาพร ตั้งศิริ โรงพยาบาลกลาง

ประเภท Poster Presentation
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คนในอยากออก....คนนอกอยากเข้า โดยนางสกุลตรา สุขวารี จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ การพัฒนาระบบบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง โดยนายกิตติชัย บ่อสมบัติ จากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ พาวัยใส ผ่านภัยวิกฤต โดยนางกนกอร สุคนธมาน จากโรงพยาบาลตากสิน
รางวัลชมเชย ได้แก่ หวานเบาเบา เพื่อตัวเอง โดยนางสาวพรศิริ สมจอมชาญ จากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
รางวัลชมเชย ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยแบบทีมสหสขาวิชาชีพรูปแบบ One Stop Service  ในผู้ป่วยโรคหอบหืด โดยนางสาวกุสุมาลย์ วิบูลมงคล จากโรงพยาบาลกลาง
รางวัลชมเชย ได้แก่ ช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสอมงตีบ/อุดตัน โดยนางสาวศรัณยา แสงมณี จากโรงพยาบาลตากสิน
รางวัลชมเชย ได้แก่ Lean Line To โดยนางสธัญรัชต์ กนกดีสีห์รัต จากโรงพยาบาลตากสิน

ประเภท Oral Presentation
ห้อง Racha Ballroom
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Prevalence of androgen recepotor expression in breast cancer patients in charoenkrung pracharak hospital โดย นายกำพล รัชวรพงษ์ จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ Time duration of oxygen adaptation lmmediately after birth between normal labor and cesarean section; Monitoring by pulse oximerter in perinatal period of term infants at charoenkrung pracharak hospital โดย นายศุภรัช สุวัฒนพิมพ์ จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Risk factors for severe hypoglycemaia in patients with type 2 diabetes โดยนางสาวเสาวภา บุญมั่ง จากโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
รางวัลชมเชย ได้แก่ Primary treatment outcomes in gestational trophoblastic neoplasia patients guided by figo staging modified who scoring system [2000] in siriraj hotspital โดยนางสาววรรณิกา แงสุริย์ จากโรงพยาบาลตากสิน

ห้อง Patcharawaadee 1
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อการใช้ถุงมือของบุคคลกรพยาบาล โดยนางดวงฤทัย จันเขียว จากโรงพยาบาลตากสิน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ การวัดค่าบิลิรูบินทางผิวหนังในทารกเกิดก่อนกำหนดตัวเหลืองระหว่างได้รับการรับรักษาโดยวิธีส่องไฟ โดยนางสิรินาถ เวทยะเวทิน จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ อิทธิพลของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยนางชุติมา นพเก้า จากโรงพยาบาลกลาง
รางวัลชมเชย ได้แก่ ภาวะผู้นำด้านการบริหารจัดการทางการแพทย์และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพเพื่อชีวิตที่ดีของคนเมือง ศึกษาเฉพาะกรณีของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ชองกรุงเทพมหานคร โดยนางสาวปิยรัตน์ พรรณรังสี จากกองวิชาการ

ห้อง Patcharawaadee 2
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อุบัติการณ์ของอาการไม่พึ่งประสงค์จากยาต้านไวรัสเอชไอวีในผปู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ โดยนางสุภาพร หอมดี จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณภุมิกายต่ำของทารกแรกเกิดในห้องผ่าตัว โดยนางสุนีรัตน์ พวงทรัพย์ จากโรงพยาบาลสิริธร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ การใช้ Vaseline ผสม Zinc paste ป้องกันแผลกดทับในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โดยนางสาวสุขุมาภรณ์ สุขชเก่า จากโรงพยาบาลกลาง
รางวัลชมเชย ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุงในเขตหนองจอก โดย นางสาวศิรดา กลิ่นชื่น จากโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

ห้อง Patcharawaadee 3
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยนางสาวศิรินันท์ หมื่นมี จากกองวิชาการ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ดูแลยาเดิม เพิ่มทรัพย์ โดยนางสาวพิมฤทัย ประราชะ จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Empyema thoracis due to nocardiosis and mycobacterium tuberculosis mixed infections in an aids patient โดยนายขจร อินทรบุหรั่น จากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

รางวัลชมเชย ได้แก่ การตรวจคัดกรองและการแยกชนิดแอนติบอดี้ในผู้ป่วยที่มารับเลือดใน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ โดยนางสาววัชราภรณ์ สังข์กลมเกลี้ยง จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ